แสงสว่างในตัวหิ่งห้อยเกิดจากสารลูซิเฟอรินไปรวมกับออกซิเจนในอากาศ
โดยมีสารอีกตัวหนึ่ง คือ ลูซิเฟอเรส เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเคมี ซึ่งสารทั้งสองตัวนี้
ได้มาจากตัวหิ่งห้อยโดยตรง
แสงที่เกิดจากหิ่งห้อยจะเป็นแสงที่ปราศจากความร้อน ซึ่งสามารถจับดูได้
และปริมาณแสงสว่างที่เกิดขึ้นก็นับว่าน้อยมาก เพียงหนึ่งในพันของแสงจาก
เทียนไขธรรมดา
แสงของหิ่งห้อยจะมีลักษณะวับวาบ เพราะแสงสว่างจะขึ้นอยู่กับจังหวะการหายใจ
จังหวะหายใจเข้าแสงจะติด และจังหวะหายใจออกแสงจะดับ เป็นอยู่อย่างนี้ตลอด
หิ่งห้อยจะใช้แสงในการล่อเพศตรงข้าม และบางครั้งก็ใช้ล่อเหยื่อ