วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

คัลลิสโต (Callisto)


















คัลลิสโต (Callisto)  มีลักษณะคล้ายแกนีมีด  แต่พื้นผิวมีหลุมอุกกาบาตน้อยกว่า 
และมีร่องรอยของพื้นถล่มในปัจจุบัน  ทั้งแกนีมีดและคัลลิสโตมีมหาสมุทรอยู่ใต้พื้่นผิว 
แต่ไม่ได้ลึกลงไปจนถึงชั้นแมนเทิลดังเช่นยูโรปา 

แกนีมีด (Ganymede)














แกนีมีด (Ganymede)  เป็นดวงจันทร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ
(ใหญ่กว่าดาวพุธ)  และเป็นดวงจันทร์เพียงดวงเดียวที่มีสนามแม่เหล็ก 
แกนีมีดมีพื้นผิวเป็นหินปนน้ำแข็ง  และมีร่องรอยการชนของอุกกาบาต
จำนวนมาก  แกนีมีดมีแก่นเป็นเหล็กซึ่งห่อหุ้มด้วยชั้นหิน 

ยูโรปา (Europa)
















ยูโรปา (Europa)  มีขนาดใหญ่กว่าดวงจันทร์ของโลกเพียงเล็กน้อย 
มีพื้นผิวปกคลุมด้วยน้ำแข็ง  ภายใต้เปลือกน้ำแข็งเป็นมหาสมุทร
ซึ่งสันนิษฐานว่า  มีน้ำมากกว่าโลกถึงสองเท่า   นักชีวดาราศาสตร์เชื่อว่า 
ยูโรปามีศักยภาพที่จะเป็นถิ่นที่อยู่ของสิ่งมีชีวิต  เช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตบน
โลกใต้ทะเลลึก  ซึ่งอาศัยความร้อนและธาตุอาหารจากภูเขาไฟใต้มหาสมุทร 

ไอโอ (Io)
















ไอโอ (Io)  มีขนาดใหญ่กว่าดวงจันทร์ของโลกไม่มากนัก  และเป็นดวงจันทร์
ที่อยู่ใกล้กับดาวพฤหัสบดีมากที่สุด  ไอโอโคจรรอบดาวพฤหัสบดีด้วยความเร็วสูง  
1  รอบใช้เวลาเพียง 1.769  วัน  จึงเหนี่ยวนำให้เกิดสนามแม่เหล็ก  แรงโน้มถ่วง
มหาศาลของดาวพฤหัสบดีทำให้เกิดแรงไทดัลบนพื้นผิวของไอโอ  ยกระดับสูงขึ้น  
100  เมตร  เกิดความร้อนดันแมกมาซิลิเกตในชั้นแมนเทิลให้ไหลออกมาทางปล่อง
ภูเขาไฟ  ไอโอจึงเป็นดาวที่ภูเขาไฟระเบิดรุนแรงมากที่สุดของระบบสุริยะ 

ดวงจันทร์กาลิเลียน


แม้ว่าดาวพฤหัสบดี  จะมีดวงจันทร์บริวารที่ถูกค้นพบแล้ว  
มากถึง  62  ดวง  แต่ดวงจันทร์ส่วนใหญ่มีขนาดเล็กมาก
และมีรูปร่างไม่เป็นทรงกลม  เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นดาวเคราะห์น้อย 
หรือ  ดาวหาง  ซึ่งถูกแรงโน้มถ่วงของดาวพฤหัสบดีจับมาเป็นบริวาร
ในภายหลัง  ไม่ได้วิวัฒนาการมาพร้อม ๆ กับดาวพฤหัสบดี  ยกเว้น  
ดวงจันทร์ขนาดใหญ่  4  ดวง  ซึ่งถูกค้นพบโดยกาลิเลโอ  กาลิเลอี 
จึงถูกขนานนามว่า  ดวงจันทร์กาลิเลียน (Galilean moons) 
ซึ่งได้แก่  ไอโอ  ยูโรปา  แกนีมีด  คัลลิสโต