วันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2554
นอคติลูคา (noctiluca)
หิ่งห้อย 2
หิ่งห้อย
หิ่งห้อย เป็นแมลงชนิดหนึ่ง ชอบอาศัยอยู่ตามทุ่งนา หรือในป่าที่ชุ่มชื้น มีอวัยวะทำแสงอยู่ที่ปล้องปลายท้อง ซึ่งมีอยู่ 2 ปล้องในเพศผู้ และ 1 ปล้องในเพศเมีย แสงของหิ่งห้อยเกิดจากกระบวนการทางเคมีภายในร่างกาย ทำให้เกิดแสงที่เรามองเห็นได้ในเวลากลางคืน หิ่งห้อยกระพริบแสงเพื่อเป็นสื่อให้คู่ของมันมาผสมพันธุ์และวางไข่
วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
หลุมดำมีรูปร่างเป็นอย่างไร?
หลุมดำเป็นวัตถุที่มีแรงโน้มถ่วงมหาศาล สามารถดึงดูดทุกสิ่งทุกอย่างเข้าไปแม้กระทั่งแสง ดังนั้นจึงไม่มีแสงใดที่ปลดปล่อยมาจากหลุมดำเลย ในเมื่อไม่มีแสงออกมา หลุมดำจึงมืดสนิด
ใครคือ สตีเวน ฮอว์กิง?
ชื่อเต็มของเขาคือ สตีเวน วิลเลียม ฮอว์กิง เกิดเมื่อมี 1942 เป็นชาวอังกฤษ เป็นนักฟิสิกส์คณิตศาสตร์ เขามีชื่อทางด้านเอกภพวิทยาและหลุมดำ ทฤษฎีของเขามีพื้นฐานอยู่บนการรวมกลศาสตร์ควอนตัมเข้ากับทฤษฎีสัมพัทธภาพ ตัวของเขาเองนั้นแม้ต้องทนทุกข์ทรมานกับโรคร้ายจนต้องนั่งติดกับเก้าอี้ล้อตลอดเวลา แต่สมองเขานั้นพุ่งไกลไปในท้องฟ้ากว้าง เพื่อไขปัญหาความลี้ลับของเอกภพ เขาได้รับเลือกให้เป็นศาสตราจารย์ใน Royal Society เมื่ออายุเพียง 32 ซึ่งเป็นคนที่หนุ่มที่สุดที่เคยรับตำแหน่งนี้ หนึ่งในผลงานชิ้นโบว์แดงของเขาคือหนังสือชื่อ ประวัติย่อของเวลา จากบิกแบงสู่หลุมดำ (A Brief History of Time. From Big Bang to Black Hole)
มีดาวอะไรบ้างที่กำลังจะกลายเป็นซูเปอร์โนวา?
ดาราจักรอะไรที่อยู่ใกล้เรามากที่สุด?
ดาราจักรแคระหมาใหญ่ (Canis Major Dwarf Galaxy) อยู่ห่างจากใจกลางดาราจักรทางช้างเผือกเพียง 42,000 ปีแสงเท่านั้น ดาราจักรนี้อยู่ใกล้จนแทบจะเชื่อมเป็นเนื้อเดียวกับดาราจักรทางช้างเผือก ในอนาคต แรงดึงดูดของทางช้างเผือกจะดึงดาราจักรนี้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของทางช้างเผือก เป็นกระบวนการที่เรียกว่า กระบวนการกลืนดาราจักร ซึ่งเป็นกระบวนการสร้างดาราจักรขนาดใหญ่
นอกจากดาราจักรแคระหมาใหญ่แล้ว ยังมีดาราจักรแคระคนยิงธนู อยู่ห่างมากกว่าดาราจักรแคระหมาใหญ่เล็กน้อยเท่านั้น
ดาวหางไฮยากุตะเกะ นี่ชื่อเรียกยากจริง ๆ มันแปลว่าอะไรหรือ?
จากคำพูดของนาย ยูจิ เฮียะกุตะเกะ ผู้ค้นพบดาวหางดวงนี้
"ชื่อของผมน่ะเหรอครับ แปลว่า ซามูไร 100 คน แปลกดีไหมล่ะ คนญี่ปุ่นเองยังบอกว่าชื่อแปลกเลย"อุกกาบาตยักษ์มีโอกาสชนโลกมากหรือไม่?
ปรกติ โลกถูกอุกกาบาตชนทุกวัน รวมน้ำหนักแล้ววันละหลายตัน แต่โชคดีที่อุกกาบาตที่ชนส่วนใหญ่มีขนาดเล็กและลุกไหม้เป็นจุณหมดก่อนถึงพื้นโลก มีเพียงส่วนน้อยที่ตกลงมาถึงพื้นโลก อุกกาบาตขนาดยิ่งใหญ่ขึ้นก็จะมีโอกาสชนโลกน้อยลง จากการศึกษาอายุและการกระจายของหลุมอุกกาบาตบนดวงจันทร์ ทำให้เราสามารถประเมินโอกาสในการชนโลกของอุกกาบาตขนาดต่าง ๆ ได้ นักดาราศาสตร์ประเมินว่าโลกมีโอกาสถูกอุกกาบาตที่มีความรุนแรงพอจะทำลายเมืองได้ทั้งเมืองพุ่งชนทุก 1,000 ปีถึง 10,000 ปีโดยเฉลี่ย ส่วนโอกาสที่จะถูกอุกกาบาตพุ่งชนที่รุนแรงถึงขั้นเป็นภัยพินาศทั่วทั้งโลกมีเพียงประมาณหนึ่งครั้งต่อทุก 100,000 ปี แม้จะน้อยมากแต่ก็ไม่ใช่ศูนย์ สิ่งที่พอทำให้อุ่นใจได้ในขณะนี้ก็คือ องค์กรดาราศาสตร์นานาชาติเริ่มให้ความสนใจในการติดตามวัตถุอันตรายเหล่านี้มากขึ้น และจนถึงปัจจุบันยังไม่พบอุกกาบาตยักษ์หรือดาวเคราะห์น้อยดวงใดที่มีแนวโน้มจะชนโลกเลย
ดาวตก อุกกาบาต ผีพุ่งไต้ ต่างกันอย่างไร?
คำเหล่านี้มักเป็นที่สับสนและใช้กันผิด ๆ คำว่า ดาวตก กับ ผีพุ่งไต้ เหมือนกัน คือ สิ่งที่ปรากฏเป็นแสงวาบพุ่งไปบนท้องฟ้า หากสะเก็ดดาวที่ทำให้เกิดแสงนั้นเผาไหม้ในชั้นบรรยากาศไม่หมดและเหลือบางส่วนตกลงมาถึงพื้นโลก วัตถุนั้นก็จะเรียกว่า อุกกาบาต
คำภาษาอังกฤษที่เกี่ยวกับดาวตกและอุกกาบาตก็ใช้กันสับสนเหมือนกัน จึงขอกล่าวถึงด้วย ดังนี้
meteor - ดาวตก หรือ ผีพุ่งไต้
meteorite - อุกกาบาต
meteoroid - สะเก็ดดาว
กล้องโทรทรรศน์คืออะไร?
กล้องโทรทรรศน์คืออุปกรณ์ใด ๆ ก็ตามที่ทำหน้าที่ดึงภาพจากระยะไกลให้ปรากฏเหมือนกับอยู่ใกล้ ๆ ใช้สำหรับส่องดูวัตถุไกล ๆ เช่น ดวงดาว ตามนิยามเดิมในภาษาอังกฤษ จะระบุด้วยว่ากล้องจะต้องเป็นวัตถุทรงกระบอก แต่ในปัจจุบันเทคโนโลยีของกล้องโทรทรรศน์พัฒนาไปมาก จนสามารถสร้างกล้องจนมีรูปร่างหลากหลายมากขึ้นจนบางชนิดอาจไม่เป็นทรงกระบอกก็ได้
ดาวพฤหัสบดีใหญ่แค่ไหน?
ดาวพฤหัสบดีมีเส้นผ่านศูนย์กลางตามแนวศูนย์สูตร 141,700 กิโลเมตร หรือประมาณ 11 เท่าของโลก เทียบได้กับลูกบาสเกตบอลกับลูกปิงปอง
เหตใดดาวพุธกับดาวศุกร์จึงไม่มีบริวาร?
เนื่องจากดาวเคราะห์ทั้งสองดวงนี้อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากเกินไป ทำให้ระดับวงโคจรเสถียรของดาวบริวารแคบมาก หากอยู่ห่างจากดาวเคราะห์แม่มากเกินไปก็จะถูกดวงอาทิตย์คว้าจับไป หากอยู่ใกล้ดาวเคราะห์มากเกินไปก็จะถูกแรงน้ำขึ้นน้ำลงฉีกเป็นชิ้น ๆ ดาวเคราะห์สองดวงนี้อาจเคยมีบริวารในอดีตแต่ไม่อาจคงสภาพอยู่ได้ด้วยเหตุผลดังกล่าว
จันทรุปราคาเต็มดวง 10 ธันวาคม 2554
อุปราคาครั้งสุดท้ายของปี เป็นจันทรุปราคาเต็มดวงที่เห็นได้ในประเทศไทยเป็นครั้งที่ 2 ของปี เกิดขึ้นในคืนวันเสาร์ที่ 10 ธันวาคม 2554 พื้นที่บนโลกที่เห็นจันทรุปราคาครั้งนี้พร้อมประเทศไทย คือ ทางตะวันออกของทวีปแอฟริกา ยุโรป เอเชีย ฮาวาย มหาสมุทรแปซิฟิก และเกือบทั้งหมดของทวีปอเมริกาเหนือ
ขั้นตอนการเกิดจันทรุปราคา 10 ธันวาคม 2554
- ดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามัวของโลก 18:33:33 น.
- เริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วน 19:45:42 น.
- เริ่มเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง 21:06:16 น.
- กึ่งกลางของปรากฏการณ์ 21:31:49 น.
- สิ้นสุดจันทรุปราคาเต็มดวง 21:57:24 น.
- สิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วน 23:17:59 น.
- ดวงจันทร์พ้นจากเงามัวของโลก 00:30:00 น.
จันทรุปราคาครั้งนี้มีระยะเวลาเต็มดวงยาวนาน 51 นาทีเศษ
วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554
วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554
วันพุธที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2554
ตัวนิ่ม
นากทะเล (Sea Otter)
นากทะเลเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ซึ่งอาศัยอยู่บริเวณแถบชายฝั่ง มหาสมุทรแปซิฟิกลางและเหนือ โดยเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่มีขนาดเล็กที่สุดในอเมริกาเหนือ ด้วยความสูงเพียง 4 ฟุต ซึ่งตัวเมียจะมีน้ำหนักประมาณ 45 ปอนด์ส่วนตัวผู้มีน้ำหนักประมาณ 65 ปอนด์ และมีอายุเฉลี่ยประมาณ 10-15 ปี
วิธีว่ายน้ำของนากทะเลนั้น มันจะใช้การนอนหงายหลังไปกับผิวน้ำ และใช้เท้าหน้าเป็นตัวขับเคลื่อน และใช้หางเป็นตัวนำทาง โดยสามารถว่ายน้ำได้ประมาณ 1 ไมลล์ครึ่งต่อชั่วโมง แต่หากมันตกใจขึ้นมา ก็สามารถว่ายน้ำได้เร็วกว่านั้น หรือดำน้ำไปเลย โดยที่หูและรูจมูกสามารถกันน้ำเข้าได้เมื่ออยู่ใต้น้ำ
หอยเม่นทะเล หอยโข่ง หอยแครง หอยแมลงภู่ ปู หอยทากและปลาดาว ล้วนแล้วแต่เป็นอาหารของนากทะเลทั้งสิ้น โดยมันสามารถว่ายน้ำได้ลึกถึง 330 ฟุต เพื่อออกไปหาอาหาร ด้วยหนวดที่ไวต่อความรู้สึก ทั้งเวลาอยู่ในน้ำและเมื่อเข้าใกล้เหยื่อ
ในแต่ละวัน นากทะเลจะต้องกินมากถึง 25% ของน้ำหนักตัว หากเปรียบเทียบนากที่มีน้ำหนัก 40 ปอนด์ มันก็จะต้องกินอาหารมากถึง 10 ปอนด์ต่อวันเลยทีเดียว